impression

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อาหารไทยเพื่อสุขภาพ

หลักในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ

1. รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัวให้เป็นปกติ
2. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าวควรรับประทานเป็นข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือ
3. รับประทานพืชผักผลไม้เป็นประจำ
4. รับประทานปลาและเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
5. รับประทานที่มีไขมันแต่พอควร
6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวานจัดและเค็มจัด
7. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารถนอม เช่น อาหารหมักดองอาหารกระป๋อง
8. งดหรือลดเครื่องดื่มที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ข้าวยำ


ลักษณะการทำ

          ข้าวยำทำจากข้าวที่เรารับประทานกันประจำวันนี้เอง แต่เพิ่มการปรุงแต่งบ้างเล็กน้อย เพื่อให้ข้าวเหล่านั้นมีสีสันและรสชาติที่น่ารับประทานมากขึ้น ในข้าวยำจะมีผักรับประทานกับข้าวยำเรียกผักหมวด ผักที่นิยมนำมาทำเป็นผักหมวด ได้แก่ ถั่วฝักยาว ถั่วงอก ตะไคร้ กระถิน ยอดมะม่วงหิมพานต์ ผักบุ้ง ใบยอ ถั่วพู และพาโหม ราดด้วยน้ำบูดู
           ปัจจุบันมีการเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารมากขึ้นทั้งการเพิ่มข้าวสีต่างๆจากการปรุงกับดอกไม้และสมุนไพรหลายชนิด เพิ่มดอกดาหลา และดอกไม้ทานได้ เพื่อเพิ่มมูลค่าในการผลิตขึ้นก็มีการบรรจุน้ำบูดูปรุงรสออกจำหน่ายไปทั้งในและนอกประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีข้าวยำในประเทศเกาหลีที่มีลักษณะการทำและปรุงรสใกล้เคียงกับข้าวยำในบ้านเราอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการ

ในข้าวยำจานหนึ่งนั้น มีสารอาหารหลายอย่าง ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินซี และวิตามินเอ คุณค่าทางโภชนาการจากผักหมวดพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งลดการก่อตัวของมะเร็ง นอกจากนี้ ยังมีฟลาโวนอยด์ วิตามินอี

ต้มยำกุ้ง


         "ต้มยำกุ้ง" เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในการบริโภคของคนไทย และชาวต่างประเทศทั้งในทวีปเอเชียและแถบตะวันตก ปัจจุบันมีการผลิตเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศจำนวนมาก ส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญในเครื่องต้มยำกุ้ง คือ ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และพริก ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพืชผัก สมุนไพรที่ให้สรรพคุณในการป้องกันและรักษาโรคได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น
คุณค่าทางโภชนาการ
ในต้มยำกุ้งมีพลังงาน 43.47 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 3.6 กรัม ไขมัน 2.15 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.43 กรัม ใยอาหาร 0.9 กรัม แคลเซียม 24.66 มิลลิกรัม เหล็ก 0.23 มิลลิกรัม

จุดเด่นด้านคุณค่าทางโภชนาการของต้มยำกุ้ง
มีไขมันน้อย และให้พลังงานต่ำมาก
คุณค่าของสมุนไพรไทย
-หัวหอม: ช่วยบรรเทาอาการหวัด หายใจไม่ออก
-พริกแห้ง: ช่วยเจริญอาหาร ขับลม เป็นยาระบาย ช่วยขับเสมหะ แก้หวัด
-ใบมะกรูด: ช่วยป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง
-ตะไคร้: ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ
-น้ำมะนาว: ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน บำรุงเลือด แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน

แกงเลียง


         
            แกงเลียง อาหารที่มีรสชาติเฉพาะตัวอร่อยเผ็ดร้อนพริกไทย หอมกลิ่นสมุนไพรจากพืชผักหลากหลายชนิด มีประโยชน์ในการขับพิษ ไข้เป็นอย่างดี เป็นแกงที่ประกอบด้วยน้ำพริก ผัก เนื้อสัตว์ น้ำแกงและเครื่องปรุงรส น้ำพริกแกงเลียงจะแปลกกว่าน้ำพริกแกงชนิดอื่นๆ เพราะมีพริกไทย หัวหอม กะปิ กุ้งแห้ง ปลาย่างหรือปลากรอบ น้ำแกงมีลักษณะข้น ผักที่นิยมใส่ที่สามารถบอกลักษณะว่าเป็นแกงเลียง คือ ใบแมงลักมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน นอกจากนั้นยังมีผัก เช่น ตำลึง ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน หัวปลี บวบ ผักหวาน ฯลฯ เนื้อสัตว์ ได้แก่ กุ้งสด เนื้อไก่ ฯลฯ ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือเกลือ
สรรพคุณทางยา
• พริกไทย รสเผ็ดร้อน ขับลม ขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร
• หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
• ผักต่าง ๆ เช่น ฟักทอง รสมันหวาน บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา
• บวบ รสเย็นจืดออกหวาน มีแคลเซียม เหล็กและฟอสฟอรัสมาก
• น้ำเต้า
- ผลอ่อน ใช้ปรุงอาหาร
- เมล็ด ประเทศจีนนำมาต้มกับเกลือกินเพื่อเจริญอาหาร เถา, ใบอ่อน, เนื้อหุ้มรอบ ๆ เมล็ด ประเทศอินเดียใช้เป็นยาทำให้อาเจียนและยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิและแก้อาการบวมน้ำ
• ตำลึง รสเย็น ใบสดตำคั้นน้ำแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ปวดแสบปวดร้อน และคั้นรับประทานเป็นยาดับพิษร้อน แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ
• ข้าวโพด รสมันหวาน
-เมล็ด เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ฝาด สมานบำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ
• ใบแมงลัก ใบสด รสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง ขับลม

ประโยชน์ทางอาหาร
แกงเลียงมีส่วนประกอบพริกขี้หนู หอม พริกไทย กะปิ เกลือ กุ้งแห้ง ผักต่าง ๆ เช่น บวบ ฟักทอง น้ำเต้า ตำลึง ข้าวโพด ใบแมงลัก โบราณเชื่อว่าเป็นอาหารที่ช่วยประสะน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอด ทำให้นมบริบูรณ์ และแก้ไข้หวัดได้เป็นอย่างดี

น้ำพริกกะปิ


        น้ำพริกกะปิ เป็นอาหารประเภทน้ำพริกอย่างหนึ่งที่มีส่วนประอบหลัก คือ กะปิ โดยใช้กะปิเผาไฟ โขลกกับเครื่องปรุงต่างๆ นำพริกกะปิเมื่อทำเสร็จแล้วจะมีสีน้ำตาลอมม่วง ลอยหน้าด้วยมะเขือพวงและพริก น้ำพริกกะปิจะรับประทานคู่กับ ปลาทูทอด หรือ ไข่ทอดชะอม

คุณค่าทางอาหาร
กะปิ เป็นส่วนผสมที่ขาดเสียไม่ได้ ทำมาจากกุ้งเคยที่ผ่านการตากแห้งและหมักอย่างดี ก่อนปรุงก็ผ่านความร้อนอ่อนๆ บนเตาย่าง คุณค่าทางอาหารจึงไม่เสียไปมาก โดยกะปิ 100 กรัม ให้แคลเซียมสูงถึง 1,554 มิลลิกรัม เพียงพอต่อความต้องการแคลเซียมในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยเสริมกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่คนรุ่นก่อน แม้จะไม่มีโอกาสดื่มนมมากเหมือนเด็กสมัยนี้ แต่ก็ยังมีสุขภาพกระดูกและฟันที่แข็งแรง
ปลาทู อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 และ 3 แคลเซียม ไอโอดีน ซีลีเนียม โอเมก้า 3 และ 6 ดีเอชเอ ซึ่งช่วยบำรุงจอประสาทตา ใยประสาทในสมอง บำรุงกระดูกและข้อ ควบคุมโคเลสตอรอล เพิ่มระดับไขมันดีให้แก่ร่างกาย ผู้ที่กำลังหลีกเลี่ยงไขมัน อาจนำปลาทูไปทอดในน้ำมันมะกอกพอให้ผิวเหลืองกรอบและนำไปย่างอีกที

ที่มา
http://www.tungsong.com/samunpai/food/Food.htm
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=48ae55b420096d11

2 ความคิดเห็น: